วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ยุงลาย พาหะนำโรคชิคุนกุนยา


ยุงลาย พาหะนำโรคชิคุนกุนยา
ยุงถึงแม้เป็นสัตว์ตัวเล็กๆและมีวงจรชีวิตที่แสนจะสั้นนัก แต่ยุงมักก่อให้เกิดปัญหาและความรำคาญให้เราได้อย่างมากมาย ดังคำโบราณที่ว่ายุงร้ายกว่าเสือ ยุงเป็นพาหะนำโรคหลายๆ ชนิด เช่น ไข้เลือดออกจากยุงลาย ไข้มาเลเรียหรือไข้จับสั่นจากยุงก้นป่อง โรคเท้าช้าง หรือ โรคไข้สมองอักเสบ เหล่านี้ก็ล้วนเป็นอันตรายจากสัตว์มีปีกเล็กๆ อย่างยุงทั้งสิ้น ยุงจึงเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพและสร้างความรำคาญให้กับมนุษย์เราได้อย่างมาก จากการสำรวจของสำนักระบาดวิทยาได้รายงานว่า ตลอดปี 2551 ประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกถึง 87,494 ราย เสียชีวิต 101 ราย โรคมาลาเรีย มีผู้ป่วย 28,943 ราย เสียชีวิต 42 ราย โรคชิคุนกุนยา มีผู้ป่วย 2,234 มีผู้เสียชีวิต 3 คน โรคไข้สมองอักเสบมีผู้ป่วย 68 ราย และโรคเท้าช้างมีผู้ป่วย 4 ราย

โรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรคและกลายเป็นที่สนอกสนใจของคนทั่วไปในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นโรคชิคุนกุนยา โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่อะไร แต่มีปรากฏมานานแล้ว แม้ชื่อฟังออกไปแนวเกาหลี-ญี่ปุ่น แต่จริงๆแล้วโรคนี้มีต้นกำเนิด ขึ้นครั้งแรกใน ประเทศแถบแอฟริกา โดยตรวจพบครั้งแรกในแถบรอยต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแทนซาเนีย และทางตอนเหนือของประเทศโมแซมบิก ชื่อชิคุนกุนยา เพี้ยนมาจากคำพื้นเมืองของชาวแอฟริกาที่เรียกเชื้อโรคชนิดนี้ว่า kungunvala ซึ่งมีความหมายถึงลักษณะอาการที่บูดเบี้ยวบิดงอ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดข้อนั้นเอง

โรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรคและกลายเป็นที่สนอกสนใจของคนทั่วไปในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นโรคชิคุนกุนยา โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่อะไร แต่มีปรากฏมานานแล้ว แม้ชื่อฟังออกไปแนวเกาหลี-ญี่ปุ่น แต่จริงๆแล้วโรคนี้มีต้นกำเนิด ขึ้นครั้งแรกใน ประเทศแถบแอฟริกา โดยตรวจพบครั้งแรกในแถบรอยต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแทนซาเนีย และทางตอนเหนือของประเทศโมแซมบิก ชื่อชิคุนกุนยา เพี้ยนมาจากคำพื้นเมืองของชาวแอฟริกาที่เรียกเชื้อโรคชนิดนี้ว่า kungunvala ซึ่งมีความหมายถึงลักษณะอาการที่บูดเบี้ยวบิดงอ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดข้อนั้นเอง
โรคชิกุนคุนยามีแหล่งกำเนิดมาจากลิงบาร์บูนในป่าแอฟริกา เมื่อลิงที่มีเชื้อโดนยุงกัด ก็จะทำให้ยุงตัวนั้นกลายเป็นพาหะนำโรคและเมื่อยุงไปกัดคน ก็ทำให้ผู้ที่ถูกกัดได้รับเชื้อดังกล่าวเข้าไปด้วยต่อมาเมื่อการคมนาคมได้มีการเปิดกว้างมากขึ้น ทำให้เชื้อเข้าสู่เมืองกลายเป็นโรคติดต่อระหว่างคนสู่คนโดยที่มียุงเป็นพาหะในการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว
โรคนี้ถูกตรวจพบในครั้งแรกเมือปี พ.ศ. 2495ทางตอนใต้ในประเทศแทนซาเนีย หลังจากนั้นอีก 3 ปี หรือในปี พ.ศ. 2498 Marion Robinson และ W.H.R. Lumsden ก็ได้บรรยายถึงลักษณะอาการของโรคนี้เป็นครั้งแรกทำให้โรคชิคุนกุนยาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในสังคม หลังจากนั้นโรคชิคุนกุนยาก็มีการระบาดเป็นระยะๆ โดยมีปรากฏขึ้นเป็นครั้งคราวในบริเวณ ทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในทวีปเอเชียตรวจเจอโรคนี้ครั้งแรกในประเทศไทยของเรานี้เอง มีการตรวจเจอผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในปีพ.ศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยาได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลเด็ก จ.กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นก็มีการตรวจพบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาในทวีปเอเชียเป็นครั้งคราวกระจัดกระจายไปในพื้นที่ต่างๆ ในปี พ.ศ.2506 ตรวจพบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาในประเทศอินเดีย ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าตรวจพบเชื้อนี้เป็นครั้งแรกของทวีปเอเชีย ทั้งยังมีการระบาดของโรคดังกล่าวทั้งในประเทศศรีลังกา พม่า อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เป็นครั้งราว ในราว ปี พ.ศ. 2548-2549 มีการระบาดใหญ่ของโรคชิคุนกุนยาในหมู่เกาะทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 237คน และประชากร 1 ใน 3 ติดเชื้อชิคุนกุนยาซึ่งสร้างความทรมานให้เป็นอย่างมากในช่วงเวลาเดียวกันก็เกิดการระบาดในประเทศปากีสถานด้วยเช่นกัน ส่วนในปีที่ผ่านมาพ.ศ. 2551 เกิดการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ มีผู้ป่วยรวม 1,985 ราย ซึ่งกว่าครึ่งอยู่ในรัฐยะโฮว์ โดยคาดการว่า เชื้อโรคได้แพร่เข้ามาโดยแรงงานที่ไปทำงานในประเทศอินเดีย รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เพิ่งกลับมาจากรปะเทศอินเดียซึ่งพบการระบาดก่อนหน้าไม่นาน
ดูจากการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาแล้ว ไม่เป็นเรื่องเกินคาดเลย ที่ปีนี้จะพบว่าในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อชิคุนกุนยา แล้วกว่า 2 หมื่นรายใน 28 จังหวัด สำหรับประเทศไทยของเราเคยประสบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสชิคุนกุนยามาแล้วหลายครั้งดังนี้
1. พ.ศ. 2501 ตรวจเจอเชื้อที่โรคพยาบาลเด็ก
2. พ.ศ. 2531 เกิดการระบาดในจังหวัดสุรินทร์
3. พ.ศ. 2531 เกิดการระบาดในจังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี
4. พ.ศ. 2536 เกิดการระบาดของโรคดังกล่าวในประเทศไทยถึง 3 ครั้งคือที่จังหวัด จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย
5. พ.ศ. 2536 เกิดการระบาดในจังหวัดนราธิวาสและปัตตานี มีผู้ป่วยราว 170 คน
6. พ.ศ. 2552 เกิดการระบาดในแถบภาคใต้ของไทย ก่อนจะแพร่ขยายไปยังภาคกลางและภาคอีสาน
จากข้อมูลของ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคจนถึงปัจจุบัน(27 พ.ค พ.ศ. 2552) พบผู้ป่วยเป็นจำนวนรวมแล้ว 22,276 ราย ใน 28 จังหวัด โดยเป็นผู้ป่วยในพื้นที่จังหวัดสงขลา 9,078 รายจัดเป็นพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยามากที่สุด รองลงมาคือจังหวัดนราธิวาสที่พบผู้ป่วย 7,011 รายและที่น่าแปลกใจคือ ในจำนวนของผู้ติดเชื้อทั้งหมดยังมีผู้ป่วยซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพ อีก 3 ราย
สาเหตุของโรค
เชื้อไวรัสของโรคชิคุนกุนยาเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อไวรัสที่ทำให้ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยทางการแพทย์ได้แบ่งเชื้อไข้เลือดออกไว้เป็นสองชนิดคือ เชื้อ เด็งกี (dengue) กับชิกุนคุนยา (chigunkunya) โดยประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีสาเหตุจากเชื้อเด็งกีส่วนอีกประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีสาเหตุจากเชื้อชิกุนคุนยา ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรงเท่ากับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเด็งกี คือไม่ทำให้เกิดภาวะช็อก เพราะเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาแตกต่างกับเชื้อเด็กกีตรงที่เชื้อชิคุนกุนยาไม่มีการรั่วของพลาสม่าออกนอกเส้นเลือด
ไวรัสชิคุนกุนยา เป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae เมื่อยุงลายกัดหรือดูดเลือดผู้ป่วยซึ่งมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดก็จะทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระเพาะของยุงแล้วเพิ่มจำนวนเชื้อมากขึ้นก่อนเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายของยุงพาหะและเมื่อยุงพาหะไปกัดคนอื่นเข้าก็จะทำให้ผู้ที่ถูกยุงกัดติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาตามไปด้วย
เชื้อชนิดนี้โดยทั่วไปจะมีการฟักตัวราว 1-12 วัน แต่จะพบบ่อยที่สุดใช้ระยะเวลาในการฟักตัวราว 2-3 วันโดยผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการไข้สูงในระยะเวลา 2-4 วันอันเป็นช่วงเวลาที่ที่ไวรัสมีอยู่ในกระแสเลือดมาก ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างเฉียบพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวดข้อกระดูก ปวดกระบอกตา หรือบางรายอาจจะมีอาการตาแดง หรือคันร่วมด้วยแต่ทั้งนี้ไม่ค่อยจะพบจุดเลือดออกในตาขาว
ทั้งนี้ โรคชิคุนกุนยาอาจจะมีอาการของโรคที่คล้ายกับโรคอื่นๆ อีกซึ่งจำเป็นต้องแยกแยะให้ดี เช่น
1. ไข้หวัด มีอาการตัวร้อนเป็นพักๆ มีน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอเล็กน้อย ไข้มักจะหายได้เองภายใน 2-4 วัน
2. ไข้หวัดใหญ่ มีอาการตัวร้อนจัดเป็นพักๆ ปวดเมื่อยตามตัวมาก เบื่ออาหาร เจ็บคอเล็กน้อย ไอ และมีน้ำมูกเล็กน้อยร่วมด้วย อาการไข้มักจะหายได้เองภายใน 3-5 วัน
3. หัด มีอาการตัวร้อนตลอดเวลา หน้าแดง ตาแดง คล้ายไข้เลือดออก แต่แตกต่างกันตรงที่หัดจะมีขี้มูกเกรอะกรัง ไอ และหลังมีไข้ 3-4 วันจะมีผื่นแดงขึ้นตามตัว โรคนี้มักหายได้เองภายใน 7-10 วัน
4. ปอดอักเสบ (ปอดบวม) มีไข้สูง ไอมีเสลด เจ็บหน้าอก และหายใจหอบ หากสงสัยต้องไปพบแพทย์ทันที มักต้องทำการตรวจ เสมหะ เอกซเรย์ปอด
5. ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) มีไข้สูงตลอดเวลา จุกแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูกหรือไม่ก็ถ่ายเหลว ไม่มีน้ำมูก อาการตัวร้อนมักจะเป็นนานเป็นสัปดาห์ขึ้นไป หากสงสัยแพทย์จะทำการตรวจเลือดพิสูจน์
6. ไข้ฉี่หนู (เล็ปโตสไปโรซิส) จะมีไข้สูงตลอดเวลา หนาวสั่น ปวดน่อง ตาแดง ดีซ่าน หากสงสัยควรไปพบแพทย์โดยเร็ว
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ช่วยป้องกันหรือรักษาโรคชิคุนกุนยาได้โดยตรง การรักษาจึงทำได้เฉพาะการรักษาตามอาการเท่านั้น เช่นการให้ยาลดไข้ การให้ยาเพื่อลดอาการปวดข้อ ซึ่งทางการแพทย์พบว่าการใช้ ยาคลอโรควิน (Chloroquin) สามารถบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคชิคุนกุนยาได้ผลดี ในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีการพัฒนาเพื่อใช้ในการรักษาเยียวยาโรคนี้ต่อไป แม้โรคนี้อาจจะไม่ได้สร้างความอันตรายให้ถึงแก่ชีวิตได้โดยตรงแต่การต้องทนทุกข์ทรมานเพราะการเจ็บปวดตามข้อกระดูก็คงไม่เป็นที่พิศมัยของใครเช่นกัน
การป้องกัน
การป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับโรคนี้คงหนีไม่พ้นการป้องกันไม่ให้ยุงลายอันป็นพาหะนำโรคกัด เพราะเรามิอาจทราบได้ว่ายุงลายที่มากัดเรานั้นจะมาพร้อมกับเชื้อไวรัสอย่างไข้เลือดออก หรือ ชิคุนกุนยาด้วยหรือไม่ การป้องกันของภาครัฐคือการให้การสนับสนุนช่วยเหลือในการลดปริมาณยุงลงในพื้นที่เสี่ยง เช่นการออกพ่นหมอกควันเพื่อลดปริมาณของยุง แต่อย่างว่าพ่นได้ไม่นานยุงก็กลับมาอีก จึงต้องมีการพ่นหมอกควันกันอย่างสม่ำเสมอ ทางทีดีกว่านั้นคือเราต้องช่วยกันกำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง ในบริเวณไหนที่อาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ก็ต้องช่วยดูแลรักษา เช่น การปิดตุ่มน้ำตามชนบท ซึ่งในเมืองคงไม่มีตุ่มใส่น้ำให้ปิดกันสักเท่าไหร่ หรือในบริเวณขาตู้กับข้าวก็เป็นอีกทีหนึ่ง ซึ่งเหมาะสำหรับการแพร่พันธ์ของยุงลายได้เป็นอย่างดี หรืออย่างในแจกันดอกไม้ก็ต้องหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เกิดเป็นแหล่งเพราะพันของยุงได้ หากใครเลี้ยงปลาหรือมีบ่อปลา กระถางบัวใบใหญ่ๆก็ต้องระมัดระวังให้ดีเช่นกัน หรืออาจจะใช้วิธีกำจัดลูกน้ำตามธรรมชาติ โดยการหาปลากัดหรือปลาหางนกยูงมาเลี้ยงไว้ เพื่อช่วยกำจัดลูกน้ำตามวิธีการห่วงโซอาหารก็คงพอจะลดอัตราการเจริญเติบโตของยุงลงได้บ้าง
การใช้ผลิตภัณฑ์กันยุงก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกอย่างหนึ่ง เช่น ผลิตภัณฑ์กันยุงที่มีสารไล่ยุงอย่างสาร DEET,PMD, icaridin หรือ IR3535 การสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดก็สามารถช่วยป้องกันการถูกยุงกัดได้ หากการใช้สารไล่ยุงสังเคราะห์ ทำให้ผู้ใช้ไม่มั่นใจจะลองหันมาใช้สมุนไพรแบบไทยๆที่มีฤทธิ์ไล่ยุงดูบ้างก็ได้เช่นกัน ตะไคร้หอม สนุมไพรชนิดหนึ่งที่ยุงไม่ชอบเอาเสียเลย หรือพืชอย่างกะเพรา ขมิ้น ดอกดาวเรือง พืชในตระกูลส้มก็มีฤทธิ์ไล่ยุงและลูกน้ำได้ดีไม่แพ้กัน สำหรับกระเพรานั้นจำเป็นต้องขยี้เพื่อให้น้ำมันที่อยู่ในใบระเหยออกมาเพื่อใช้ในการไล่ยุง แต่พวกดอกดาวเรืองเพียงแค่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน กลิ่นของมันจะช่วยไล่ยุงและแมลงต่างๆได้เป็นอย่างดี
แม้โรคชิคุนกุนยาจะยังไม่มียารักษาโดยตรงดังนั้นการป้องกันรักษาที่ดีที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นการป้องกันไม่ให้ยุงกัดเพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ายุงที่กัดเรานั้นพกของแถมอะไรมาให้บ้าง กว่าจะรู้ตัวเราอาจจะนอนซมเพราะพิษไข้เนื่องมาจากไวรัสที่ยุงเป็นพาหะ จนแล้วจนรอดก็คงไม่มีการรักษาใดที่ดีไปกว่าการป้องกันนั้นเอง
แหล่งข้อมูล
1. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค http://203.157.15.4/
2. เอกสาร ความรู้ เรื่อง โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค
3. เอกสารโรคชิคุนกุนยา(Chikungunya) กระทรวงสาธารณะสุข
4. สารานุกรมทันโรค โดย นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
5. รายงานสถานการณ์โรคไข้ชิกุนคุนยา(27 พ.ค. 52) สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รวมรวมข้อมูลโดย นพ.โสภณ เอี่ยมสิริถาวร นส.อมรา ทองหงส์ นายสมาน สยุมภูรุจินันท์





การกระจายของโรคชิคุนกุนยาในประเทศไทย
ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 27 พ.ค. 52
ภาพจาก สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค

1 ความคิดเห็น:

  1. อยากทราบว่าถ้านำน้ำมันเครื่องที่ไม่ใช้ใส่ลงในแหล่งน้ำ ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ไหม มีผลเสียกับน้ำอย่างไร

    ตอบลบ