วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สุขได้เมื่ออยู่กับรูมาตอยด์

ไร้โรคาพาร่ำรวย
นายแพทย์กิตติ โตเต็มโชคชัยการ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา มีการจัดงานสัมมนาเรื่อง "อยู่อย่างเป็นสุขกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์"ที่ ร.พ.ราชวิถีมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากถึง 600-700 คน

ในงานมีกิจกรรมหลายอย่าง ตั้งแต่การให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในปัจจุบัน และนวัตกรรมใหม่ในการรักษา มีกิจกรรมแนะนำการลีลาศกับจังหวะเบาๆ ในสไตล์ที่น่าลองั้จนถึงช่วงก่อนเที่ยงที่เป็นการเสวนาเรื่อง อยู่อย่างเป็นสุขกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยมี คุณสายสวรรค์ ขยันยิ่งเป็นผู้ดำเนินรายการมีการพูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และคู่ชีวิตนอกจากนี้ ยังมีดารารับเชิญเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ที่มีคุณแม่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ผมเองก็ได้มีโอกาสร่วมการเสวนาด้วยในฐานะแพทย์ที่ทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

การเสวนาครั้งนี้มีข้อคิดและเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ครอบครัว รวมทั้งญาติของผู้ป่วยที่พอจะรวบรวมและสรุปได้ดังนี้

ก่อนอื่นขอให้ทำความเข้าใจก่อนว่า โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ที่นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับความเจ็บปวดและทรมานจากอาการปวดข้อข้ออักเสบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานแล้วการอักเสบของข้อที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ยังทำให้เกิดความพิการข้อนิ้วมือข้อมือบิดเบี้ยว ผิดรูปผิดร่าง จนไม่สามารถใช้มือประกอบอาชีพหรือใช้งานในชีวิตประจำวันได้ตามปกติหลังจากที่เป็นโรคมาประมาณ 5 ปีผู้ป่วยร้อยละ 40จะไม่สามารถประกอบอาชีพการงานได้ กลายเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคมดังนั้น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จึงควรได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็วที่สุด ก่อนที่จะเกิดความพิการขึ้นซึ่งก็ควรจะเป็นภายในเวลาก่อน 6 เดือนถึง 1 ปี หลังจากที่เริ่มมีอาการปวดข้อสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ควรรีบไปพบแพทย์และถ้าจะให้ดีที่สุดควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อหรือที่เรียกแพทย์รูมาโตโลจิสต์ (Rheumatologist) อย่าไปเสียเวลาหรือเสียโอกาสทองในการรักษาไปกับการรักษาทางเลือก เช่น การรักษาด้วยยาหม้อยาลูกกลอน หรือยาสมุนไพรทั่วไป

เมื่อได้รับการยืนยันจากแพทย์ว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อย่าเพิ่งตกใจกลัวั้คนเรามักจะกลัวสิ่งที่เราไม่รู้จักดีดังนั้น สิ่งที่ควรทำคือ พยายามทำความเข้าใจและรู้จักโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ให้ดีที่สุด โดยพยายามถามหาข้อมูลจากแพทย์ที่ให้การรักษาให้มากที่สุดั้นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มเติมความเข้าใจได้จากแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เช่น สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย มีความเข้าใจหรือความเห็นเกี่ยวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์บางอย่างที่ควรได้รับการแก้ไข เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่รักษาไม่หายั้จริงๆ แล้วมีผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ประมาณร้อยละ 10-20 ที่รักษาแล้วหาย ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้ที่โรคไม่ค่อยรุนแรงั้ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องแล้วโรคจะค่อยๆ สงบลงั้แต่บางครั้งโรคอาจจะกำเริบขึ้นมาเป็นระยะได้เมื่อมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้นั้อย่างไรก็ตาม รักษาย่อมดีกว่าไม่รักษารักษาแล้วโรคสงบลงข้อไม่อักเสบั้ก็ไม่เกิดความพิการหรือไม่พิการเพิ่มขึ้น

ส่วนความเชื่อที่ว่า ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิตจริงๆ แล้วการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในระยะแรก ผู้ป่วยอาจจะต้องรับประทานยาหลายอย่างเพื่อรักษาและควบคุมโรคให้สงบลงรวมทั้งแก้ไขหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น โลหิตจาง กระดูกพรุนแต่พออาการดีขึ้นแพทย์ก็จะค่อยๆ ลดขนาดและชนิดของยาต่างๆ ลงจนหยุดยาได้ในที่สุดไม่ต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต

สิ่งที่ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ต้องการคือกำลังใจและความเข้าใจจากผู้ใกล้ชิดคนในครอบครัว รวมทั้งเพื่อนสนิทมิตรสหายและผู้ร่วมงานเพราะผู้ป่วยโรคนี้จะต้องต่อสู้กับโรคไปอีกเป็นเวลานานต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ สารพัดนอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หลายคนใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีกำลังใจต่อสู้กับโรคคือ หลักธรรมะ ทำให้จิตใจสงบลงมีความเข้าใจสภาพความเป็นไปของชีวิตและสิ่งที่เกิดขึ้นมีความหวังที่จะมีชีวิตต่อไป

เมื่อมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์แล้วขั้นต่อมาคือหาทางที่จะต่อสู้กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และต้องสู้ให้ถูกทางโดยการรับประทานยารักษาโรคตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดไปติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัดปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ที่รักษา นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่จะช่วยให้หายจากโรคยังรวมถึงการทำให้สุขภาพของร่างกายโดยรวมแข็งแรงขึ้นด้วยการพักผ่อนให้พอเพียง และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอั้เพื่อเป็นการปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ดีขึ้น เป็นการช่วยแก้ไขภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อีกส่วนหนึ่งั้การนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียงอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง โดยเป็นการนอนหลับสนิทอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่นอนหลับๆ ตื่นๆ จะช่วยให้โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์บรรเทาลง ตรงกันข้าม การนอนดึกั้นอนน้อยั้อดนอน นอนหลับไม่สนิทติดต่อกัน อาจทำให้โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบขึ้นได้การออกกำลังกายที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นั้แก้ไขภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรเป็นการออกกำลังกายที่ไม่กระทบกระเทือนข้อ เช่น การว่ายน้ำการปั่นจักรยานั้การรำมวยจีนการเล่นโยคะหรือแม้แต่การเต้นแอโรบิคบางท่าการออกกำลังกายที่มีการกระแทกกระทบข้อ เช่น การเล่นแบดมินตันการเล่นเทนนิสยกน้ำหนักไม่แนะนำนอกจากนี้ ควรออกกำลังกายในระยะที่โรคสงบไม่มีการอักเสบข้อในขณะที่มีการอักเสบของข้อ ควรพักการออกกำลังหรือพักการใช้งานข้อจนกว่าจะหายอักเสบ

มีภาวะบางอย่างที่ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ควรระวังตัวและปรับการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เช่น ในระหว่างเวลาใกล้หรือกำลังมีประจำเดือนในสุภาพสตรี เพราะเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายอ่อนแอลงผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักจะมีอาการปวดข้อมีข้ออักเสบมากขึ้น หรือเกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีไข้ต่ำๆ ได้ในช่วงที่ภูมิอาการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาฝนตกหรืออากาศเย็นลงผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีอาการปวดข้อ ข้ออักเสบมากขึ้น หรือมีโรคกำเริบขึ้นได้เนื่องจากบริเวณข้อจะมีปลายประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับความชื้นหรือความเย็นมากั้จึงทำให้ไวต่ออากาศที่เปลี่ยนแปลงั้ดังนั้น ในช่วงเวลาเหล่านั้นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จึงควรมีกิจกรรมให้น้อยที่สุดพักการใช้งานข้อให้มากรวมไปถึงพยายามลดความเครียดทางร่างกายและจิตใจลง เนื่องจากความเครียดทางร่างกายและจิตใจก็ทำให้โรคกำเริบได้เมื่อไรที่มีงานหนักมีความกังวลใจั้ไม่สบายใจหรือพักผ่อนไม่เพียงพออดหลับอดนอนั้จะมีอาการปวดข้อข้ออักเสบมากขึ้นจะเห็นได้จากผู้ป่วยบางคนมีอาการกำเริบเวลาเปลี่ยนงานเปลี่ยนที่ทำงานมีปัญหาในครอบครัวทะเลาะกับแฟนหรือแม้กระทั่งในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี ก็จะเห็นได้ว่ามีผู้ป่วยที่มีโรคกำเริบมากขึ้น ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ยังอยู่ในวัยเรียน เวลาช่วงใกล้สอบเลื่อนขั้น หรือเปลี่ยนที่เรียนก็มักจะมีอาการปวดข้อ หรือข้ออักเสบเพิ่มขึ้น

ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ส่วนมากจะเป็นผู้หญิง ในช่วงอายุประมาณ 30-40 ปีซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังจะแต่งงานหรือมีครอบครัวการป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการแต่งงาน สามารถแต่งงานได้นอกจากนี้ หลังจากแต่งงานแล้วก็สามารถมีลูกได้ การตั้งครรภ์จริงๆ แล้วเป็นผลดีกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในระหว่างตั้งครรภ์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักจะสงบลงปวดข้อน้อยลงเนื่องจากมีฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ออกมาช่วยกดภูมิคุ้มกันทำให้โรคดีขึ้นไปตลอดการตั้งครรภ์ รวมไปถึงในช่วงระยะหลังคลอดด้วยผู้ป่วยบางรายที่โรคไม่รุนแรงบางทีถึงกับโรคสงบไปไม่กลับมาเป็นอีกหลังคลอดก็มีแต่บางรายหลังคลอดสักระยะหนึ่งโรคอาจจะค่อยๆ เริ่มกลับมาอีก ก็เริ่มทำการรักษาต่อ

อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์สำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ที่ให้การรักษาอยู่เนื่องจากมียารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่เป็นยาปรับเปลี่ยนตัวโรคบางอย่างที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ ถ้าจะตั้งครรภ์จำเป็นต้องหยุดยาเหล่านั้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น อาจจะ 3 เดือน หรือ 6 เดือนจึงจะอนุญาตให้ตั้งครรภ์ได้รวมไปถึงในช่วงหลังคลอดให้นมบุตรก็เช่นเดียวกัน ยาบางชนิดปลอดภัยกับเด็กั้บางชนิดให้ไม่ได้ในช่วงให้นมบุตรั้ดังนั้น ในระหว่างการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์บางครั้งผู้ป่วยจำเป็นต้องคุมกำเนิดเอาไว้ก่อน ถ้าจำเป็นต้องได้รับยาปรับเปลี่ยนตัวโรคชนิดที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์จริงๆจนกว่าโรคจะสงบลงจนหยุดยาได้เป็นเวลานานพอจึงตั้งครรภ์ได้

บางครั้งผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจจะได้รับคำแนะนำจากคนรอบข้าง ซึ่งบางอย่างก็เป็นคำแนะนำที่ดี แต่คำแนะนำบางอย่างก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ควรละเว้นการรับประทานสัตว์ปีก พวก เนื้อเป็ด ไก่ หรือเครื่องในสัตว์เพราะจะทำให้โรคกำเริบ จริงๆ แล้ว การงดเว้นอาหารเหล่านี้เป็นคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าต์ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการอักเสบในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่จำเป็นต้องงดเว้นอาหารชนิดใด ตรงกันข้าม ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรงั้

ส่วนคำแนะนำที่ว่า อย่ารับประทานยานานๆ เพราะจะมีผลต่อตับ ไตจริงๆ แล้วก็มีส่วนจริง แต่สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ซึ่งเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยอาจจะต้องรับประทานยาปรับเปลี่ยนตัวโรคที่จะช่วยปรับภูมิคุ้มกันไปเป็นระยะเวลาหลายปีโดยมีการปรับลดหรือเพิ่มยาตามความรุนแรงหรือการกำเริบของโรคในขณะนั้นแพทย์ที่ให้การรักษาจะมีการติดตามผลข้างเคียงของยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่แล้ว เช่น มีการตรวจหน้าที่ของตับ ไตมีการตรวจตามีการเอ็กซเรย์ปอดรวมทั้งติดตามปริมาณเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว เป็นระยะตามความเหมาะสมอยู่แล้วผู้ป่วยไม่ควรไปลดยาเองหรือหยุดยาบางชนิดเองั้เพราะกลัวผลข้างเคียงในกรณีที่มีอาการผิดปกติอะไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาอยู่

ถึงแม้โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะทำให้เกิดความเจ็บปวดข้อเกิดความทุกข์ทรมานเกิดความพิการแต่ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง มีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นมีการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง มีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเจ็บป่วยแล้วผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ก็ไม่ได้แตกต่างจากผู้คนทั่วไปคือยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขถึงแม้ต้องอยู่กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น