วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คอนกรีตขี้เถ้ชานอ้อย สูตรประหยัดแต่แข็งแรง


ดร.สำเริง รักซ้อน

ในเชิงภูมิศาสตร์...พื้นที่ประเทศไทย กลายเป็นผู้ได้เปรียบหลายๆประเทศ เนื่องจากเหมาะแก่ การทำเกษตรมากที่สุดแห่งหนึ่ง และด้วย ทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ นี้เอง ทำให้ผลผลิตทางเกษตร เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ฯลฯ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดโลก

แต่ในทางกลับกันกระบวนการผลิต ก็มักมี สิ่งเหลือทิ้ง จากภาคเกษตรกรรม เช่น เถ้าแกลบ และ ชานอ้อย ซึ่งสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชนข้างเคียงได้ไม่น้อยเช่นกัน

ดังนั้น ดร.สำเริง รักซ้อน อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (มทร.พระนคร) จึงใช้เถ้าแกลบและชานอ้อยที่เหลือทิ้ง มาเสริมในงานคอนกรีต เพื่อต้อง การศึกษาและพัฒนาใช้ เป็นวัสดุซีเมนต์ไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดความมั่นใจแก่อุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ทั้งยังช่วยลด ปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อม


ดร.สำเริง เผยว่า แกลบ และ ชานอ้อย เป็นผลผลิตจากเกษตรกรรมที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย และมีการนำไป ใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า และ ได้ส่วนที่เหลือเป็นเถ้าแกลบและเถ้าชานอ้อย เถ้าทิ้งทั้งสองสามารถนำมาทำเป็นสาร ปอซโซลาน ได้ เนื่องจากมี สารจำพวกซิลิกา และ อลูมินา ปนอยู่ ซึ่งสารเหล่านี้จะ ทำปฏิกิริยาเพิ่มเติมจากปฏิกิริยาไฮเดรชัน ทำให้ความแข็งแรงของคอนกรีตเพิ่มขึ้น

...เมื่อนำเถ้าแกลบและเถ้าชานอ้อยมาปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพให้เหมาะสม โดยการบดให้มีขนาด อนุภาคลดลงด้วยเครื่องบด เมื่อนำไปผลิตเป็นวัสดุประสาน จะทำให้ได้วัสดุที่มีโครงสร้างที่แข็งแรง มีลักษณะเหมือนปูนซีเมนต์ สามารถนำไปใช้ในงานคอนกรีตได้ ช่วย ลดปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ลดพื้นที่การกำจัดทิ้งเถ้าแกลบ และการนำวัสดุเถ้าแกลบกับชานอ้อยมาผสมในกระบวนการผลิตคอนกรีตจะเกิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยมาก...!!!
ดร.สำเริง เล่าถึงขั้นตอนการผลิตคอนกรีตว่า เริ่มจาการนำ เถ้าแกลบบด และ เถ้าแกลบชานอ้อยบดละเอียด แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ในอัตราส่วนร้อยละ 10-20 และ 30 โดยน้ำหนักวัสดุประสานใช้ทรายและหินในงานคอนกรีตทั่วไป เนื่องจากหาได้ง่ายใช้ อัตราส่วนของน้ำต่อวัสดุประสานคงที่เท่ากับ 0.50 โดย ควบคุมค่าความข้นเหลว ด้วยสารลดน้ำพิเศษหล่อเป็นคอนกรีต ในแบบหล่อขนาด 100-100-100 มิลลิลิตร (ตามมาตรฐาน) หลังจากหล่อคอนกรีต 24 ชั่วโมง แล้วจึง ถอดแบบบ่มในน้ำสะอาด


จากนั้นนำมาทดสอบใช้ตัวอย่างทดสอบชนิดละ 3 ก้อนตัวอย่างทดสอบ เพื่อหาค่าเฉลี่ยของกำลังอัดส่วนผสมของคอนกรีตจาก เถ้าแกลบ และ เถ้าชานอ้อย พบว่า เทียบเท่ากับคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ธรรมดา ซึ่งสามารถใช้ผลิตเป็นคอนกรีตในโครงการก่อสร้างได้ และ หากมีการพัฒนาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง อาจให้ค่ากำลังที่สูงกว่าคอนกรีตธรรมดาจากปูนซีเมนต์

สำหรับต้นทุนในการผลิตราคาถูก เพราะใช้วัสดุที่เหลือทิ้งหรือหาได้ทั่วไป ผู้สนใจคอนกรีตเถ้าแกลบและเถ้าชานอ้อย สอบถามเพิ่มเติมที่ดร.สำเริง 08-7945-4133 เวลาราชการเหมาะสมที่สุด.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น